วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ประวัติความเป็นมา จังหวัดสุรินทร์


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ banner web สุรินทร์
จังหวัดสุรินทร์

ประวัติความเป็นมา
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จังหวัดสุรินทร์จังหวัดสุรินทร์ได้รับการสันนิษฐานจากนักประวัติศาสตร์ ว่าพื้นที่อันเป็นที่ตั้งเมืองสุรินทร์มีชุมชนอาศัยอยู่เมื่อประมาณ 2,000 ปีล่วงมาแล้ว ในสมัยที่พวกขอมเรืองอำนาจเมื่อขอมเสื่อมอำนาจลงเมืองสุรินทร์ได้ถูกทิ้งร้างจนกลายเป็นป่าดงอยู่นานจนกระทั่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนปลาย พ.ศ. 2260 ชาวพื้นเมืองกลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่าส่วยหรือกูย ซึ่งอาศัยอยู่แถบเมืองอัตปือแสนแป แคว้นจำปาศักดิ์ซึ่งขณะนั้นเป็น ดินแดนของไทย และเป็น ผู้ที่มีความสามารถในการจับช้างป่ามาเลี้ยงไว้ใช้งานเป็นอย่างมากได้พากันอพยพข้ามลำน้ำโขง มาสู่ฝั่งขวาโดย ได้แยกย้ายกันไปตั้งชุมชนที่เมืองลีง (อำเภอจอมพระ) บ้านโคกลำดวน(อำเภอขุขันธ์จังหวัดศรีสะเกษ) บ้านอัจจะปะนึ่ง(อำเภอสังขะ) และบ้าน กุดปะไท (อำเภอศีขรภูมิ) แต่ละ บ้านจะมี หัวหน้าควบคุมอยู่ ในปี พ.ศ. 2306 หลวงสุรินทรภักดี หรือเชียงปุมหัวหน้าหมู่บ้านเมืองทีได้ขอให้เจ้าเมืองพิมายกราบบังคมทูลขอพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งสุริยามรินทร์ ย้ายหมู่บ้านจากบ้านเมืองทีมาตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านคูประทาย บริเวณซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองสุรินทร์ในปัจจุบันนี้ เนื่องจากเห็นว่าเป็นบริเวณที่มีชัยภูมิเหมาะสม มีกำแพงค่ายคูล้อมรอบ 2ชั้นมีน้ำอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การประกอบอาชีพและอยู่อาศัย ต่อมาหลวงสุรินทร์ภักดีได้กระทำความดีความชอบเป็นที่โปรดปราน พระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกบ้านคูประทาย เป็นเมืองประทายสมันต์ และเลื่อนบรรดาศักดิ์หลวงสุรินทรภักดีเป็นพระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวางให้เป็นเจ้าเมืองปกครอง ในปี พ.ศ. 2329 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองประทายสมันต์เป็นเมืองสุรินทร์ ตามสร้อยบรรดาศักดิ์เจ้าเมือง เมืองสุรินทร์มีเจ้าเมืองปกครองสืบเชื้อสายกันมารวม 11 คน  จนถึงปี พ.ศ. 2451 ได้มีการปรับปรุงระบบบริหารราชการแผ่นดินเป็นแบบเทศาภิบาลส่วนกลาง จึงได้แต่งตั้งพระกรุงศรีบุรีรักษ์ (สุม สุมานนท์) มาดำรงตำแหน่งเป็น ข้าหลวงประจำจังหวัดหรือผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นคนแรก



ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย ระหว่างเส้นแวงที่ 103 องศา และ 105 องศาตะวันออก และระหว่างเส้นรุ้งที่ 15 องศา และ องศาเหนือ ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 450 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
จังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดมหาสารคาม
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ
จังหวัดศรีสะเกษ
ทิศใต้
ติดต่อกับ
ราชอาณาจักรกัมพูชา
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
จังหวัดบุรีรัมย์
ลักษณะภูมิประเทศ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จังหวัดสุรินทร์
จังหวัดสุรินทร์มีเนื้อที่ประมาณ 8,124 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 5,077,535 ไร่คิดเป็นร้อยละ 4.8 ของพื้นที่ภาคตะ วันออกเฉียงเหนือทั้งหมด ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปมีลักษณะดังนี้คือบริเวณซึ่งติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา มีป่าทึบและภูเขาสลับซับซ้อน ถัดจากบริเวณภูเขา จะเป็นที่ราบสูงลุ่มๆ ดอนๆ ลักษณะลูกคลื่นลอนลาดบริเวณตอนกลาง ของจังหวัด จะเป็นที่ราบลุ่มเป็นส่วนใหญ่ มีที่ราบสูงอยู่บางตอน ด้านเหนือของจังหวัดเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำไหลผ่าน
จังหวัดสุรินทร์มีลำน้ำธรรมชาติที่สำคัญ 8 สายดังนี้คือ แม่นำมูล ลำน้ำชี ห้วยเสนง ลำห้วยพลับพลา ลำห้วยระวี ลำห้วยทับทัน ลำห้วยระหารและลำห้วยแก้ว เป็นลำน้ำที่ทำประโยชน์ให้แก่จังหวัดสุรินทร์ นอกจาก 8 แห่งนี้แล้ว ยังมีลำน้ำและหนองนำอีกมากมายกระจัดกระจายอยู่ในอำเภอต่างๆแต่แหล่งน้ำต่างๆดังกล่าวไม่สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่เกษตรกรได้มากนัก ในฤดูแล้งส่วนใหญ่น้ำจะแห้ง เว้นแต่ลำน้ำมูลซึ่งมีน้ำไหลตลอดปี
จังหวัดสุรินทร์ มีพื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นเขตป่าจำนวน 1,382,625 ไร่หรือคิดเป็นร้อยละ 27.23 ของพื้นที่จังหวัดไม่มีอุทยานแห่งชาติมีวนอุทยานจำนวน 2 แห่ง คือวนอุทยานพนมสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ เนื้อที่ 2,500 ไร่ และวนอุทยานป่าสนหนองคู อำเภอสังขะ เนื้อที่ 625 ไร่และมีเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า 1 แห่งคือเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยสำราญ - ห้วยทับทัน อยู่ในพื้นที่กิ่งอำเภอพนมดงรัก, อำเภอกาบเชิง, อำเภอสังขะ และอำเภอบัวเชด เนื้อที่ 313,750 ไร่
สภาพสังคม
โครงสร้างทางสังคม
จังหวัดสุรินทร์ มีประชากรร้อยละ 93 อาศัยอยู่ในเขตชนบท มีภาษาพูดพื้นเมืองที่แตกต่างกัน เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่พูดภาษาเขมร ส่วนใหญ่อาศัยอยู่แถบอำเภอเมือง ปราสาท กาบเชิง สังขะ บัวเชด จอมพระ ศีขรภูมิ ท่าตูม ชุมพลบุรี ลำดวน กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มที่พูดภาษาส่วย อาศัยอยู่ในแถบอำเภอสำโรงทาบ ท่าตูม สนม จอมพระ ศีขรภูมิ รัตนบุรี และกระจายอยู่ตามอำเภออื่นๆ อีกเล็กน้อย กลุ่มที่สามเป็นกลุ่มที่พูดภาษาพื้นเมืองอีสาน(ลาว) อาศัยอยู่แถบอำเภอสนม รัตนบุรี ท่าตูม ชุมพลบุรี และศีขรภูมิ
เนื่องจากประชาชนมีภาษาพูดที่แตกต่างกัน จึงทำให้แต่ละกลุ่มมีขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมที่แตกต่างกันบ้าง แต่อย่างไรก็ตาม ประชากรทั้ง 3 กลุ่ม มีความเป็นมาที่กลมกลืนกัน มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย มีความสามัคคีต่อกันเป็นอย่างดี ไม่ปรากฏการเกิดปัญหาระหว่างกลุ่มชนแต่อย่างใด
การปกครองส่วนภูมิภาค
จังหวัดสุรินทร์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 17  อำเภอ 158 ตำบล  2,119 หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่น
 จังหวัดสุรินทร์มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 173 แห่ง ดังนี้
 1. องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์
2. เทศบาลเมืองสุรินทร์ ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง เนื้อที่ 11.3 ตารางกิโลเมตร
3. เทศบาลตำบล จำนวน 27 แห่ง
4. องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 144 แห่ง
ตารางแสดงพื้นที่  หน่วยการปกครอง  ระยะทางจากจังหวัด 

อำเภอ/กิ่งอำเภอ
พื้นที่(ตร.กม.)
ตำบล
หมู่บ้าน
เทศบาล
เทศบาล ตำบล
อบต.
ระยะทาง
1
เทศบาลเมือง
11.3
1
-
1
-
-
-
2
เมืองสุรินทร์
903.845
20
281
-
1
20
-
3
ปราสาท
908.836
18
239
-
3
17
28
4
สังขะ
1,009.000
12
183
-
1
12
47
5
ศีขรภูมิ
561.613
15
226
-
2
14
34
6
รัตนบุรี
202.830
12
162
-
1
12
70
7
ท่าตูม
643.256
10
165
-
2
9
52
8
สำโรงทาบ
375.250
10
100
-
2
9
54
9
ชุมพลบุรี
520.256
9
122
-
5
5
91
10
จอมพระ
314.000
9
105
-
3
7
26
11
สนม
203.000
7
78
-
2
6
51
12
กาบเชิง
574.000
6
82
-
2
4
58
13
บัวเชด
479.000
6
67
-
1
6
70
14
ลำดวน
301.000
5
51
-
1
5
26
15
ศรีณรงค์
410.000
5
61
-
-
5
64
16
พนมดงรัก
318.000
4
55
-
-
4
78
17
เขวาสินรินทร์
201.000
5
54
-
1
4
14
18
โนนนารายณ์
199.170
5
67
-
-
5
72
รวม
8,124.056
159
2,098
1
27
144

สภาพทางเศรษฐกิจ
 โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดสุรินทร์ขึ้นอยู่กับด้านการขายส่ง ขายปลีก ด้านการเกษตรและด้านการศึกษาเป็นสำคัญตามลำดับ โดยมีสัดส่วนตามโครงสร้าง GPP ณ ระดับราคาคงที่ในปี พ.ศ.2551 (P1) ร้อยละ 25.06 , 22.05 และ 9.66 ตามลำดับ
ในเดือนเมษายน 2553 เศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดสุรินทร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องพิจารณาจาก ด้านอุปสงค์ การบริโภคขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากจำนวนจดทะเบียนรถยนต์นั่งปริมาณ การใช้ไฟฟ้าของครัวเรือน และจำนวนจดทะเบียนรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนมีกำลังซื้อรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น มูลค่าการส่งออกและนำเข้าเกินดุล การใช้จ่ายภาครัฐด้านรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้น แต่รายจ่ายงบลงทุนลดลง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จังหวัดสุรินทร์ด้านการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นพิจารณาได้จากทุนจดทะเบียนนิติบุคคลตั้งใหม่ จำนวนรถยนต์พาณิชย์จดทะเบียนใหม่ และพื้นที่อนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ด้านอุปทาน รายได้ภาคนอกการเกษตรขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยพิจารณาจากการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดสุรินทร์ จำนวนทุนจดทะเบียนของอุตสาหกรรมและจำนวนแรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว
ด้านการเงิน เงินฝากของธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว สำหรับสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสินเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรลดลงจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ด้านระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ด้านการจ้างงาน จำนวนลูกจ้างในระบบประกันสังคมเพิ่มขึ้นและมีตำแหน่งงานว่างรอการบรรจุเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว



วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

อาหารพื้นบ้านสุรินทร์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ banner สุรินทร์








อาหารพื้นบ้านสุรินทร์

http://www.m-culture.in.th/uploads/image/big_thumbnail/


อันซ้อมสะเลอะโดง 
(ข้าวต้นใบมะพร้าว)

รายละเอียด

          ข้าวต้มใบมะพร้าวจะมีลักษณะที่แสดงถึงความรักความผูกพัน ความสามัคคีกันระหว่างคนสองคน ครอบครัว หมู่คณะ สังคมที่อยู่ เพราะข้าวต้มมีลักษณะบ่งชี้ถึงลักษณะสิ่งเหล่านี้อยู่ในตัวมันอย่างครบถ้วนอยู่แล้ว และข้าวเหนียวถ้านำมาห่อเป็นข้าวต้มจะสามารถเก็บไว้ได้นาน ไม่เสียง่าย นิยมใช้ในพิธี แต่งงาน บวชนาค ขึ้นบ้านใหม่ โกนจุก แซนโฎนตา
วิธีทำ 
๑. กล้วยน้ำว้าปอกเปลือก ผ่าเป็น ๒ ซีกตามยาว คลุกเกลือเล็กน้อย
๒. เอาข้าวสารที่แช่น้ำแล้ว สงขึ้นให้สะเด็ดน้ำ จากนั้นนำเอามะพร้าวลงคลุก เติมเกลือเล็กน้อย ใส่ถั่วดำลงไปด้วย
๓. เอาใบมะพร้าวมาหักเป็นกระทงรูปยาว ๆ คล้ายเรือ ให้มะพร้าวด้านล่างติดกัน จากนั้นเอาข้าวในข้อ ๒ ใส่ลงไปเล็กน้อย เอากล้วยวางลงไป ๒ ชิ้น ตามยาว เอาข้าวเหนียงปิดกล้วย พับใบมะพร้าวที่เหลือปิดด้านบนให้มิดชิด
๔. ใช้เชือกมัดพันไปรอบ ๆ จนแน่น จากนั้นนำไปต้ม
๕. การต้มใช้เวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง เอามาเปิดห่อดูถ้าสุกดี ควรให้เม็ดข้าวแตกเหนียวไม่เป็นเม็ดข้าวดิบ ๆ สุก ๆ


http://www.m-culture.in.th/media/big/
อังแก๊บบอบ 
(กบยัดไส้ย่าง)

รายละเอียด


          “อังแก๊บบอบ” เป็นภาษาเขมร หมายถึง “กบยัดใส้ย่าง” อัง = ย่าง, แก๊บ = กบ, บอบ = หมก ผู้ให้ข้อมูลได้รับการถ่ายทอดการทำอาหารจากพ่อ แม่ และญาติพี่น้อง






เครื่องปรุง/ส่วนผสม 
๑. กบลอกหนังแล้ว
๒. เกลือ
๓. กระเทียม
๔. กระเพรา
๕. กระชาย
๖. ใบมะกรูด
๗. ตะไคร้
๘. พริกแห้ง
๙. กะทิ
ขั้นตอน/วิธีทำ
๑. ลอกหนังกบออก ตัดหัว และขาทั้งสี่ ล้วงเครื่องในกบออก
๒. ตัดนิ้วตีนกบทิ้ง ตัดลำไส้ดำและกระเพาะกับทิ้ง ตัดหัวและหนังกบทิ้งไป
๓. นำเนื้อขากบ และเครื่องในส่วนที่เหลือ สับให้แหลกคลุกเคล้าผสมกัน
๔. โขลกเครื่องปรุง ซึ่งประกอบด้วย เกลือ, กระเทียม, กระเพรา, กระชาย, และใบมะกรูด ให้เข้ากัน
๕. นำเครื่องปรุง และเนื้อขา เครื่องในกบ ที่สับละเอียดผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำไปยัดใส่ในตัวกบ ๖. นำตัวกบที่ยัดไส้แล้ว หนีบด้วยหีบไม้ไผ่ นำไปย่างในไฟอ่อน จนสุกทั่วทั้งตัว
๗. นำกะทิ ผสมกับพริกแห้งป่นละเอียด ทาบนตัวกบในขณะย่าง เทคนิคในการทำ

(เคล็ดลับ) 
๑. ใช้กบที่มีีขนาดใหญ่พอสมควร ที่สามารถยัดใส้ได้
๒. ในระหว่างปรุง ใช้วิธีชิม จนได้รสชาติที่ต้องการ


http://www.m-culture.in.th/media/big/

ซันลอเจก 
(แกงกล้วย)

รายละเอียด

          ที่มาของอาหาร “ซันลอเจก” เป็นภาษาเขมร หมายถึง “แกงกล้วย” ซันลอ = แกง, เจก = กล้วย เนื่องจากเมื่อก่อน การคมนาคมขนส่งต่าง ๆ ยังไม่สะดวก อาหารการกินต่าง ๆ ล้วนหาได้จากเรือกสวน ไร่นา และรอบ ๆ บริเวณบ้าน เมื่อมีคนตายในหมู่บ้าน เจ้าของงานจะจัดหาอาหารต้อนรับผู้มาร่วมงานศพ ซึ่งมักจะทำแกงกล้วยเป็นอาหารหลัก เพราะบ้านเกือบทุกหลัง นิยมปลูกต้นกล้วย เพราะต้นกล้วยสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ประเพณี/ความเชื่อ เป็นอาหารพื้นบ้าน รับประทานเป็นกับข้าว นิยมใช้เป็นอาหารเลี้ยงแขกที่ร่วมงานศพ เพราะเชื่อว่าเป็นการตัดสายสัมพันธ์ ระหว่างผู้ตายกับญาติมิตรที่ยังมีชีวิตอยู่
เครื่องปรุง/ส่วนผสม 
๑. กล้วยน้ำหว้าดิบ ผล
๒. เนื้อไก่ ขีด
๓. มะพร้าว ขีด
๔. ใบแมงลัก ๕น
๕. ใบมะกรูด ใบ
๖. ใบชะอม ยอด
๗. ตะไคร้ ต้น
๘. ข่า ๓ แว่น
๙. หัวหอม หัว
๑๐. กระเทียม กลีบ
๑๑. พริกแห้ง เม็ด
๑๒. เกลือ ช้อนชา
๑๓. น้ำปลา ช้อนโต๊ะ
๑๔. น้ำตาลทราย ช้อนโต๊ะ
๑๕. ผิวมะกรูด ช้อนชา
๑๖. กะปิ หรือปลาร้า หรือปลาอินทรีย์ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ขั้นตอน/วิธีทำ 
๑. โขลกพริกแห้ง ข่า ตะไคร้ หัวหอม กระเทียม และเกลือ รวมกันให้ละเอียด
๒. หั่นไก่เป็นชิ้น ๆ
๓. ปอกเปลือกกล้วยน้ำหว้าดิบ หั่นตามยาว หรือหั่นเฉียง แช่ในน้ำมะหนาวหรือน้ำเกลือ เพื่อไม่ให้กล้วยที่ปอกแล้วมีสีดำ
๔. คั้นมะพร้าวให้ได้หัวกะทิ ๑ ถ้วย หางกะทิ ๓ ถ้วย นำหัวกะทิเคี่ยวให้แตกมัน ใส่พริกแห้งลงผัดให้หอม เติมหางกะทิ ๑ ถ้วย ใส่ไก่ลงผัด เติมน้ำกะทิที่เหลือ พอเดือดใส่กล้วย ปรุงรสด้วยน้ำตาล ปลาร้าหรือปลาอินทรีย์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ใส่ใบมะกรูด ใบแมงลัก ใบชะอม แล้วยกลงจาก


http://www.m-culture.in.th/media/big/

ละแวกะดาม
(แกงคั่วปู)

รายละเอียด

ในเดือน ๑-๒ ปูนาจะมีมันมาก มันปูจะมีสีเหลืองเข้ม ชาวบ้านจะนำปูมาโขลกเอาน้ำเนื้อปูไปคั่วในหม้อ จะได้น้ำข้น ๆ แล้วนำส่วนผสมต่าง ๆ มาผสม กินกับผักต่าง ๆ จะมีรสชาติอร่อยใช้รับประทานเป็นกับข้าว วิธีทำ 
๑. แกะปู เอาแต่ตัวปูโขลกให้ละเอียดเอาแต่น้ำ ๓ ถ้วย ใส่หม้อตั้งไฟ


๒. พริก หอม กระเทียม กระชาย ข่า ตะไคร้ เกลือ กะปิ โขลกพอแหลก
๓. พอน้ำเดือดใส่พริกแกงที่เตรียมไว้ ใส่มะละกอ
๔. พอมะละกอเปื่อยได้ที่ก็ใส่ข้าวคั่วป่นละเอียด ขณะใส่ควรคนทันทีเพราะจะเป็นก่อน
๕. ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะขามเปียกให้ได้รสตามต้องการ ใส่ผักแขยง ยกลงได้ ควรเพิ่มเนื้อหมู ไก่ ปลาช่อน หรือปลาดุกพอประมาณ ลักษณะของแกงมีน้ำขลุกขลิกเท่านั้น


http://www.m-culture.in.th/media/big/

เบ๊าะตร๊อบจังกอม 
(ตำมะเขือพวง)

รายละเอียด

เหตุที่มีตำมะเขือพวงในงานพิธีต่าง ๆ เพราะสมัยก่อนตามหมู่บ้านในชนบท จะมีต้นมะเขือพวงขึ้นแทบทุกบ้าน เนื่องจากเป็นพืชที่เจริญเติบโตง่ายในทุกสภาพอากาศ ชาวไทยเขมรสุรินทร์นิยมนำมาตำเป็นน้ำพริก ใช้รับประทานกับผักสดได้ทุกชนิด เบ๊าะตร๊อบจังกอม ใช้ได้กับงานพิธีแต่งงาน โกนจุก บวชนาค ขึ้นบ้านใหม่ แซนโฎนตา งานศพ
วิธีทำ 
๑. โขลกหอม กระเทียม พริก เกลือ พอแหลก
๒. ใส่มะเขือพวงลงไปโขลกรวมกัน โขลกจนเข้ากันดี
๓. ใส่มะขามอ่อน ปลาร้าเขมร โขลกให้เข้ากัน


http://www.m-culture.in.th/media/big/

ประเหาะคะแมร์ 
(ปลาร้าเขมร)

ลายละเอียด

ส่วนผสม
ปลาช่อน, แป้งข้าวเจ้า, เกลือ
วิธีทำ
๑. นำปลามาควักไส้ ล้างให้สะอาด
๒. นำมาขยำกับเกลือแล้วหมักไว้ ๒-๓ วัน
๓. แล้วนำแป้งข้าวเจ้ามาคลุกให้เข้ากัน เก็บไว้ได้นาน



มรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ banner สุรินทร์


มรดกทาวัฒนธรรมท้องถิ่น

มรดกทางธรรมชาติ

สนสองใบ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สนสองใบสุรินทร์พื้นที่ระหว่างอำเภอสังขะ และอำเภอลำดวน มีป่าสนสองใบขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวสุรินทร์เรียกบริเวณนี้ว่า "ป่าพนาสน" ป่าสนสองใบที่จังหวัดสุรินทร์นี้ไม่เหมือนป่าสนทั่ว ๆ ไปเนื่องจากเป็นป่าสนที่ขึ้นอยู่บนพื้นราบ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100 กว่าเมตรเท่านั้น และขึ้นปะปนอยู่กับไม้เบญจพรรณ เช่น ไม้ยางนา กระบาก เหียง ตาด นนทรีป่า ประดู่ ลำดวนและมะค่าแต้ ในปี พ.ศ. 2523 รัฐบาลไทยได้รับความร่วมมือจากประเทศเดนมาร์ก มอบให้กรมป่าไม้จัดตั้งเป็น สถานีอนุรักษ์พันไม้ป่าหนองคู เพื่อดำเนินการศึกษาและวิจัย และจัดการเขตอนุรักษ์พันธ์ไม้สนสองใบ ป่าสนสองใบที่บ้านหนองคูนี้ นับเป็นมรดกทางธรรมชาติที่สำคัญ และเป็นเอกลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์

แม่น้ำมูล


แม่น้ำมูล มีต้นน้ำจากภูเขาดงพญาเย็น เขตอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ไหลผ่านจังหวัดสุรินทร์ ทางเขตอำเภอชุมพลบุรี อำเภอท่าตูม และอำเภอรัตนบุรี ไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นแหล่งน้ำสำคัญที่ใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตร การเพาะปลูก การคมนาคม นอกจากนั้นยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ำต่าง ๆ เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของราษฎร มีน้ำตลอดทั้งปีหากไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะฝนแล้ง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แม่น้ำมูลสุรินทร์

มรดกทางวัฒนธรรม

โบราณสถาน


            จังหวัดสุรินทร์ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชา บริเวณนี้เคยได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมขอม หรือเขมรโบราณ ซึ่งยังคงมีร่องรอยเหลืออยู่ในปัจจุบันนี้ ที่เห็นได้ชัดเจนคือ สถาปัตยกรรมแบบศิลปะขอม ทีเรียกว่า ปราสาทหิน หรือปรางค์  มีลักษณะเป็นอาคารที่ก่อด้วยอิฐ หินทราย หรือศิลาแลง มีหลังคา บันไดและประตูทางขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะอยู่ทางทิศตะวันออก ภายในห้องประดิษฐานรูปเคารพตามลัทธิความเชื่อของผู้สร้าง และชุมชนโดยรอบ ภายนอกตัวอาคารประดับตกแต่งด้วยลวดลายต่าง ๆ ใกล้ปราสาท หรือปรางค์ มักมีบาราย คือ สระน้ำ เพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรม และสำหรับอุปโภคบริโภคในชุมชน บารายเหล่านี้มักกรุด้วยอิฐ หรือศิลาแลงก่อลดหลั่นลงไปจนถึงก้นสระ
            ปราสาทสำคัญในจังหวัดสุรินทร์  จังหวัดสุรินทร์มีโบราณสถานที่เป็นปราสาท หรือปรางค์ อยู่ตามอำเภอต่าง ๆ มากกว่า ๓๐ แห่ง มีทั้งสร้างด้วยอิฐ หินทราย และศิลาแลง แยกตามรูปแบบของสถาปัตยกรรมได้ดังนี้
                แบบปราสาทหลังเดียว  ตั้งอยู่บนฐานยกสูงเหนือพื้นดิน
                แบบปราสาทสามหลัง  ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน
                แบบปราสาทห้าหลัง  ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน
                ปราสาทภูมิโปน  อยู่ในตำบลคม อำเภอสังขะ  ชื่อปราสาทมีความหมายว่า ที่หลบซ่อน มีเรื่องเล่าว่า พระธิดาของกษัตริย์ ถูกนำมาพักอาศัย ณ เมืองนี้เพื่อหลบหนีภัยสงคราม
                ปราสาทภูมิโปนประกอบด้วยปราสาทอิฐสามหลัง และฐานปราสาทศิลาแลงอีกหนึ่งหลัง ตั้งเรียงกันจากเหนือไปใต้ดังนี้
                    ปราสาทอิฐหลังที่ ๑  อยู่ทางด้านเหนือสุด มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมไม่ย่อมุม เหลือเพียงฐาน กรอบประตูทางเข้า และผนังบางส่วน  ทับหลังและเสาประดับกรอบประตูทำด้วยหินทรายสลักลวดลาย ลักษณะเทียบได้กับศิลปะขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร แบบไพรเกมร มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓
                    ปราสาทหินหลังที่ ๒  อยู่ต่อจากปราสาทหินหลังแรกมาทางใต้ ปัจจุบันเหลือเพียงฐานและกรอบประตูหินทราย
                    ปราสาทหินหลังที่ ๓ หรือปรางค์ประธาน เป็นปราสาทหลังใหญ่ ก่อด้วยอิฐไม่สอปูน แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสไม่ย่อมุม มีบันได และประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก อีกสามด้านเป็นประตูหลอก  เสาประดับ กรอบประตู และทับหลังทำด้วยหินทราย ใต้หน้าบันเหนือทับหลังขึ้นไปเป็นลายรูปใบไม้ม้วน รูปแบบและเทคนิคการก่อสร้าง เทียบได้กับปราสาทขอมสมัยก่อนพระนคร ร่วมสมัยกับปราสาทหลังที่ ๑ ได้พบจารึกเป็นภาษาสันสกฤตด้วยอักษรปัลลวะ ซึ่งเคยใช้เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓ ซึ่งสอดคล้องกับอายุของรูปแบบศิลปะของปราสาท
                    ฐานปราสาทศิลาแลง  อยู่ต่อจากปราสาทประธานมาทางใต้ ปัจจุบันเหลือเพียงฐานเท่านั้น
                    ปราสาทหลังนี้และปราสาทหลังที่สองคงสร้างในสมัยต่อมาซึ่งไม่อาจกำหนดอายุได้ชัดเจน จากส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรม เช่น เสาประดับ กรอบประตูที่เหลืออยู่เป็นเสาแปดเหลี่ยมอันวิวัฒนาการมาจากเสากลมในสมัยก่อนเมืองนคร ตลอดจนการก่อฐานปราสาทด้วยศิลาแลง ทำให้สามารถกำหนดได้ว่า ปราสาททั้งสองหลังนี้คงจะสร้างขึ้นหลังจากปราสาทประธาน และปราสาทหลังที่หนึ่ง
                ปราสาทสังข์ศิลป์ชัย  อยู่ที่บ้านถนุ ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ มีลักษณะเป็นปราสาทองค์เดียวค่อนข้างใหญ่ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง ตั้งอยู่บนฐานสูง ปัจจุบันหักพัง เหลืออยู่เพียงบางส่วนและกรอบประตูด้านทิศตะวันออก สิ่งสำคัญคือ ทับหลังที่พบบริเวณด้านหน้า มีขนาดใหญ่กว่าที่เคยพบทั่วไป คือ ยาว ๒.๗๐ เมตร สูง ๑.๑๐ เมตร หนา ๐.๘๕ เมตร สลักเป็นลายพวงมาลัย ประกอบด้วยลายใบไม้ม้วนและเทพนม ตรงกลางสลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ แนวทับหลังตอนบน เป็นภาพเทพนมในซุ้มเรือนแก้วสิบซุ้มเรียงกัน จัดเป็นทับหลังที่สวยงามอีกชิ้นหนึ่ง ทับหลังชิ้นนี้แสดงลักษณะอิทธิพลศิลปะเขมร
แบบพะโค (ประมาณ พ.ศ.๑๔๒๐ - ๑๔๔๐) จึงกำหนดอายุได้ว่าอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕  นอกจากนี้ยังพบเสากรอบประตูแปดเหลี่ยม โคนเสาสลักรูปฤาษีนั่งอยู่ภายในซุ้ม
                ปราสาทมีชัย หรือ หมื่นชัย  อยู่ที่บ้านถนน ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ แบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มคือ
                    ปราสาทมีชัยหรือหมื่นชัย  เป็นปราสาทหลังเดียว ก่อด้วยอิฐ มีประตูทางเข้าทางด้านทิศตะวันออก กรอบประตู และทับหลังทำด้วยหินทราย มีสระน้ำล้อมสามด้าน ยกเว้นทางด้านทิศตะวันออก  ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงผนังบางส่วนและฐาน
                    ปราสาทบ้านปราสาทหรือปราสาทถังแอน  อยู่ต่อขึ้นไปทางด้านทิศเหนือ ประกอบด้วยปราสาทประธานสร้างด้วยศิลาแลง ตั้งอยู่ตรงกลาง มีบรรณาลัยหรือวิหารซึ่งสร้างด้วยศิลาแลงอยู่ด้านหน้า มีกำแพงศิลาแลงที่มีโคปุระหรือซุ้มประตูด้านทิศตะวันออกล้อมรอบอีกทีหนึ่ง นอกกำแพงด้านทิศตะวันออก มีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยม กรุผนังด้วยศิลาแลง รูปแบบการก่อสร้างดังกล่าวใกล้เคียงกับปราสาท พบศิลาจารึกระบุว่า สถานที่นี้เป็นอโรคยาศาลที่สร้างสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ จึงกล่าวได้ว่าปราสาทแห่งนี้คงสร้างขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ปัจจุบันปราสาทแห่งนี้ยังอยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์
                ปราสาทบ้านพลวง  อยู่ที่บ้านพลวง ตำบลถังแอน อำเภอปราสาท เป็นปราสาทศิลาแลงย่อมุม ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทางด้านทิศตะวันออก มีประตูทางเข้า กรอบประตูทำด้วยหินทราย ทับหลังสลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ยืนบนแท่นเหนือหน้ากาล ที่กำลังคายท่อนพวงมาลัยออกจากปาก แขนทั้งสองข้างยึดท่อนพวงมาลัย หน้าบันเหนือทับหลังขึ้นไป สลักเป็นภาพพระกฤษณะยกภูเขาโควรรธนะ ผนังด้านหน้าสลักเป็นรูปทวารบาล ยืนถือกระบองอยู่ข้างละหนึ่งตน ส่วนอีกสามด้านเป็นประตูหลอกทำด้วยหินทรายโดยเฉพาะทางด้านทิศเหนือ ทับหลังประตูสลักเป็นภาพพระกฤษณะ กำลังต่อสู้กับนาคกาลิยะ ส่วนหน้าบันเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ นอกจากนี้ช่างยังสลักรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น ช้าง กระรอก หมู ลิงและวัว ฯลฯ เรียงไว้ตามแนวกรอบนอกของทับหลัง
                บริเวณปราสาทมีสระน้ำสามสระคือ สระหนึ่งมีลักษณะยาวล้อมปราสาทสามด้าน ยกเว้นด้านทิศตะวันออก  ส่วนอีกสองสระเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือสระหนึ่ง และทิศตะวันออกเฉียงใต้อีกสระหนึ่ง
                จากการศึกษาลักษณะปราสาทและลวดลายเครื่องประดับของปราสาทแห่งนี้ สันนิษฐานว่า คงจะสร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๗ เนื่องจากคล้ายกับปรางค์น้อยที่ปราสาทพนมรุ้ง ซึ่งเป็นศิลปะขอมแบบบาปวน
                ได้มีการขุดแต่งปราสาทแห่งนี้ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๕ ด้วยวิธีรื้อของเดิมลงแล้วนำไปประกอบใหม่โดยใช้วิธีการสมัยใหม่เสริมความมั่นคงให้กับตัวโบราณสถาน
                ปราสาทโอรงา  อยู่ที่บ้านโคกสะอาด ตำบลเทนมีย์ อำเภอเมือง ฯ  ตัวปราสาทสร้างด้วยอิฐขัดเรียบ มีกรอบประตูหินทรายสร้างเลียนแบบเครื่องไม้ ตัวปราสาทตั้งอยู่บนฐานศิลาแลง
                มีคันคูดินอยู่ทางด้านทิศเหนือและทิศใต้ และพบประติมากรรมหินทรายด้วย สันนิษฐานว่า ปราสาทแห่งนี้คงสร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖  ปัจจุบันตัวปราสาทถูกดินทับถมเป็นเนินสูง
                ปราสาทบ้านอนันต์หรือปราสาทอานาร์  อยู่ในวัดโพธิญาณ ตำบลยาง อำเภอศีขรภูมิ เป็นปราสาทหลังเดียวขนาดเล็ก ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมสูง ตัวปราสาทสร้างด้วยอิฐเรียบไม่ฉาบปูน แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม กรอบและเสาประดับประตูทำด้วยหินทราย มีประตูทางเข้าทางด้านทิศตะวันออก ส่วนอีกสามด้านเป็นประตูหลอก
                บริเวณปราสาทพบทับหลังหินทราย ๑ ชิ้น ตรงกลางสลักเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ อยู่ในซุ้มเรือนแก้วเหนือหน้ากาล ซึ่งกำลังคายท่อนพวงมาลัยออกมาทั้งสองข้าง และใช้มือยึดท่อนพวงมาลัยไว้ ด้านบนและด้านล่าง พวงมาลัยมีลายใบไม้ม้วน ลักษณะของทับหลังนี้ ตรงกับศิลปะขอมสมัยบาปวน จึงอาจสันนิษฐานว่า ปราสาทแห่งนี้คงสร้างขึ้นระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๗
                ปราสาทบ้านไพลหรือวัดโคกปราสาท  อยู่ที่บ้านปราสาท ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท เป็นปราสาทสามหลัง สร้างด้วยอิฐขัดเรียบอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน เรียงจากเหนือไปใต้ ผังของปราสาทเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม ปราสาททุกหลังมีประตูเข้าทางด้านทิศตะวันออก กรอบและทับหลังประตูทำด้วยหินทราย
                ปราสาทด้านทิศเหนือยังคงมีทับหลังยติดอยู่ในตำแหน่งเดิม ทับหลังสลักเป็นภาพเทวดานั่งชันเข่าอยู่ในซุ้มเหนือหน้ากาล และมีทับหลังอีกสองชิ้นวางอยู่ที่วพื้น สันนิษฐานว่าเป็นทับหลังของปราสาทหลังกลางและหลังทางทิศใต้ ชื้นหนึ่งสลักเป็นภาพพระอินทร์ช้างเอราวัณ
                พบคันดินรูปหักมุมฉากความยาวสองแนวไม่เท่ากัน อยู่ทางวด้านเหนือและด้านใต้ด้วย ส่วนสระน้ำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ นอกแนวคันดิน
                จากการศึกษาภาพสลักบนทับหลังของปราสาท สันนิษฐานว่าปราสาทแห่งนี้คงจะสร้างขึ้นประมาณ ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ หรือต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๗
                ปราสาททนง  อยู่ที่บ้านปราสาททนง ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท มีลักษณะเป็นอาคารขนาดใหญ่ สร้างด้วยอิฐปนหินทรายและศิลาแลงจำนวนสองกลุ่ม ตั้งเรียงหันหน้าไปทางทิศตะวันออกตามลำดับ คือพลับพลา และปราสาทประธาน
                พลับพลา ตั้งอยู่ด้านหน้าปราสาทประธาน อยู่ในสภาพชำรุดหเหลือเพียงฐานบัวก่อด้วยศิลาแลง เป็นรูปกำแพงหนา ล้อมพื้นที่ว่างไว้ตรงกลาง มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด ๒๓  ๓๑ เมตร มีบันได สิบบันได
                ปราสาทประธาน ตั้งอยู่บนฐานปีกกา ก่อด้วยศิลาแลง ทำให้ปราสาทประธานอยู่สูงกว่าพลับพลา สภาพของปราสาทชำรุดมาก ประกอบด้วยอาคารสำคัญสามหลังคือ ปราสาทประธาน สำหรับประดิษฐานเทวรูป และมีบรรณาลัยหรือวิหารอีกสองหลัง ตั้งอยู่เยื้องมาทางด้านหน้าของปราสาทประธาน พบทับหลังหินทรายศิลปะเขมรแบบบาปวน จำนวนหลายชิ้น สลักเป็นรูปเทวดานั่งเหนือหน้ากาล
                นอกจากนี้ใต้ฐานปราสาทยังขุดพบโครงกระดูกมหนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายยุคเหล็ก มีอายุอยู่ประมาณ ๒๕๐๐ - ๑๕๐๐ ปี ร่วมกับแหล่งเตาถลุงเหล็ก ที่มีขี้ตะกรันแร่เหล็กสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก จึงอาจกล่าวได้ว่าบริเวณบ้านปราสาทแห่งนี้ได้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มาแล้ว ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ตอนปลายยุคเหล็ก ต่อมาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๗ จึงได้มีชุมชนวัฒนธรรมเขมรโบราณ ที่นับถือศาสนาฮินดูเข้ามาตั้งชุมชน พร้อมกับสร้างปราสาทแห่งนี้ขึ้น เป็นศาสนสถานประจำชุมชน
                ปราสาทเขาพนมสวาย  อยู่ที่วัดพนมศิลา ตำบลนาบัว อำเภอเมือง ฯ ตัวปราสาทตั้งอยู่บนไหล่เขาพนมเปราะแปลว่ายอดเขาชาย ซึ่งเป็นหนึ่งในสาม ของยอดเขาในเทือกเขาพนมสวาย ปราสาทหันหน้าไปทางทิศเหนือ เป็นวปราสาทสามหลังอยู่บนฐานเดียวกัน ปัจจุบันตัวปราสาทหักพังเหลือเพียงฐานศิลาแลง
                พบสระใหญ่สองสระและพบบารายขนาดใหญ่ ซึ่งได้ปรับปรุงเป็นอ่างเก็บน้ำ
                ชาวบ้านเรียกปราสาทนี้ว่าปราสาทสนชัย เคยมีผู้ขุดพบพระคเณศหินทรายหนึ่งองค์ นอกจากนั้นยังมีผู้พบโบราณวัตถุศิลปะขอมจำนวนมากเช่น ชามสำริด กระพรวนสำริด ครุฑสำริด ไหเคลือบสีน้ำตาล ตลอดจนศิลปวัตถุที่ใช้ประดับตัวอาคาร ซึ่งโบราณวัตถุที่พบเหล่านี้คล้ายศิลปะขอม เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ จึงสันนิษฐานว่าปราสาทแห่งนี้คงมีอายุอยู่ในช่วงเวลาเดียววกัน
                ปราสาทอังกัญโพธิ์  อยู่ที่บ้านอังกัญโพธิ์ ตำบลโคกยาง อำเภอปราสาท บริเวณที่ตั้งปราสาท เดิมเป็นที่รกร้าง ชาวบ้านเรียกว่าโคกปราสาท เนื่องจากเป็นที่ตั้งของปราสาทขนาดเล็กสามหลัง ก่อด้วยอิฐตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ปัจจุบันเหลือเพียงส่วนฐานที่ก่อด้วยศิลาแลง
                ในปี พ.ศ.๒๕๑๗ มีผู้ลักลอบขุดหาของโบราณ ได้ขุดรื้อเอาฐานปราสาทบางส่วนออกลึกลงไปประมาณ ๒ เมตร ได้พบฐานปราสาทถมด้วยทรายหยาบสีเหลืองอัดแน่น บริเวณโดยรอบปราสาทชาวบ้านที่ไถพรวนดิน หรือขุดสระได้พบโบราณวัตถุแบบขอมจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นเครื่องถ้วย ซึ่งมักเรียกว่า เครื่องถ้วยเขมรจากกลุ่มริตาบ้านกรวด ซึ่งมีช่วงการผลิตอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๗ เช่นเศษเครื่องถ้วยแบบไหเท้าช้าง เคลือบสีน้ำตาลดำ เศษเครื่องถ้วยเคลือบสีเขียวอ่อน และหินบดยา เป็นต้น
                ตัวปราสาทตั้งอยู่บนเนินดินขนาดเล็ก กว้างประมาณ ๒๕  ๓๐ เมตร เป็นรูปวงกลมรี ตัวปราสาทตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเนินดิน อยู่ในสภาพชำรุดหักพังเห็นเพียงแนวศิลาแลง และส่วนยอดปราสาทหินทรายเท่านั้น รอบ ๆ เนินดินด้านทิศเหนือ - ใต้ มีแนวคูน้ำรูปเกือกม้าล้อมรอบ
                โนนแท่น  อยู่ที่บ้านโพนครก ตำบลโพนครก อำเภอท่าตูม ห่างจากบ้านห้วยอารีย์มาทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ ๒ กิโลเมตร เป็นเนินดินสองเนิน มีคูน้ำล้อมเกือบรอบ ยกเว้นด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือและด้านทิศวตะวันออกเฉียงใต้ คูน้ำตื้นเขินกลายเป็นท้องนาเกือบหมดแล้ว ตัวโบราณสถานอยู่ในสวภาพชำรุดหักพังมาก พบซากปราสาทพังทลายบนเนินดินด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ยังพอเป็นฐานศิลาแลงอยู่บ้าง พบเศษกระเบื้องดินเผา ซึ่งมีทั้งชนิดเคลือบสีน้ำตาลดำแบบเขมร และไม่เคลือบกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณนี้ สันนิษฐานว่าคงเป็นชุมชนโบราณแห่งหนึ่.
                ปราสาทนางบัวตูม  อยู่ที่บ้านสระถลา ตำบลท่าตูม เป็นปราสาทที่ก่อด้วยศิลาแลงสามหลัง ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเดียวกัน เรียงกันในแนวเหนือใต้ มีบันไดทางขึ้นด้านทิศตะวันออก และมีประตูหลอกอีกสามด้าน ทำด้วยหินทราย เสาประดับกรอบประตูไม่มีลวดลาย ส่วนที่ประตูทางเข้า สลักรูปดอกบัว อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัส เสาประดับกรอบประตูทางเข้าสลักลวดลาย พื้นธรณีประตูมีลวดลาย นอกจากนี้ยังมีทับหลังศิลาทรายสลักอีกสามชิ้น และแท่นประติมากรรมหินทราย
                ปราสาทศีขรภูมิ หรือปราสาทบ้านระแงง  อยู่ที่บ้านปราสาท ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ ตัวปราสาทตั้งอยู่บนเนินดิน ประกอบด้วยปราสาทอิฐจำนวนห้าหลัง ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน มีคูน้ำรูปเกือกม้าหันไปทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นทางเข้า มีบันไดทำด้วยฐานศิลาแลง เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้าง ๒๕ เะมตร สูง ๑ เมตร ปราสาทประธานตั้งอยู่ตรงกลาง มีปราสาทขนาดเล็กอยู่ประจำทั้งสี่มุม ปราสาททุกหลังมีประตูเข้าอยู่ทางทิศตะวันออก ลักษณะการก่อสร้าง และรูปแบบสถาปัตยกรรมเหมือนกันทุกหลังคือ ไม่มีมุขด้านหน้า ทับหลังและเสาประดับกรอบประตูเป็นหินทราย หน้าบันเป็นอิฐประดับลวดลายปูนปั้น
                ทับหลังของปรางค์ประธานตรงกลางจำหลักเป็นรูปศิวนาฏราชยืนอยู่บนแท่นมีหงส์แบกสามตัวซึ่งหมายถึงสวรรค์ และหงส์ทั้งสามตัวอยู่เหนือเศียรหน้ากาล มือทั้งสองของหน้ากาลจับเท้าสิงห์ที่ยืนด้วยสองเท้าหลังข้างละตัว อุ้งเท้าของสิงห์ทั้งสองข้างถือดอกบัวบาน มีเกสรเป็นท่อนพวงมาลัยโค้ง ริมซ้ายขวาของรูปเทวดาร่ายรำ ภายใต้วงโค้งของพวงมาลัยจำหลักเป็นรูปพระคเณศ พระพรหม พระนารายณ์ และพระลักษ มีหรือนางปราพตี มีรูปโยคีสลักอยู่ทั้งบหัวและท้ายแถว รูปเหล่านี้นั่งอยู่เหนือฐานบัว หรือปทุมอาสน์ ด้านล่างเป็นรูปเทวดาทรงสิงห์อยู่ภายในวงก้านขด สองข้างประตูทางเข้า สลักเป็นรูปนางอัปสรยืนถือดอกบัว ทางด้านข้างจำหลักลายก้ามปู และรูปทวารบาลยืนถือกระบอง ปัจจุบันส่วนยอดพังทลายเหลือตั้งแต่บัวเชิงบาตรลงมา
                ปราสาทบริวาร พบทับหลังสองแผ่น เป็นเรื่องกฤษณาวตาร แผ่นหนึ่งเป็นภาพพระกฤษณะประลองกำลังกับช้าง และคชสีห์ อีกชิ้นหนึ่งเป็นภาพพระกฤษณะ ประลองกำลังกับคชสีห์ รอบ ๆ บริเวณมีสระน้ำสามสระ สระหนึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือ ยาวอ้อมไปถึงมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนอีกสองสระอยู่ทางด้านทิศใต้และทิศตะวันออกเฉียงใต้
                จากการศึกษาลวดลายบนทับหลังและเสาที่ประดับกรอบประตูของปราสาทประธานและปราสาทบริวาร มีลักษณะใกล้เคียงกับศิลปะขอมแบบบาปวน และแบบนครวัด มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗  จึงสันนิษฐานว่าปราสาทแห่งนี้คงสร้างในสมัยห้วงเวลาเดียวกัน และเดิมคงเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย ต่อมาได้ถูกดัดแปลงให้เป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒ - ๒๓ เนื่องจากพบศิลาจารึกอักษรธรรมอีสานภาษาไทย - ภาษาบาลี ที่ผนังประตูปราสาทบริวารหลังตะวันตก เล่าถึงการบูรณะปราสาทแห่งนี้
                ปราสาทยายเหงา  อยู่ที่บ้านสังขะ อำเภอสังขะ เป็นปราสาทก่อด้วยอิฐคู่กันสองหลัง มีฐานแยกจากกัน กรอบประตูทำด้วยหินทราย หลังหนึ่งสภาพค่อนข้างดี มีลวดลายสลักบนอิฐ ที่กรอบหน้าบันเป็นรูปมกรคายนาคห้าเศียร ส่วนอีกหลังหนึ่งชำรุดเหลือเพียงผนัง และกรอบประตู
                ลักษณะของปราสาทคล้ายกับพระปรางค์ในภาคกลางคือ ส่วนที่เป็นพุ่มยอด และการย่อเก็จลึกมาก ลักษณะทาง สถาปัตยกรรม และเทคนิคคล้ายการเข้ากรอบประตูหินทราย ที่ปราสาทศีขรภูมิ และปราสาทนครวัด จึงกำหนดอายุไว้ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๗
                ปราสาทตาเมืองธม  อยู่ในตำบลตาเมือน กิ่งอำเภอพนมดงรัก อยู่ห่างจากปราสาทตาเมือนโต๊จไปทางใต้ประมาณ ๒๐๐ เมตร เป็นปราสาทใหญ่ที่สุด ในกลุ่มปราสาทตาเมือน จึงเรียกว่าตาเมืองธม (ธม ในภาษาเขมรแปลว่าใหญ่) ประกอบด้วยปราสาทหินทรายสามหลัง มีปราสาทประธานอยู่ตรงกลาง ส่วนอีกสองหลังอยู่เยื้องไปทางด้านหลัง ขนาบซ้ายขวาปราสาทประธาน ปราสาททั้งสามหลังหันหน้าไปทางทิศใต้ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกลุ่มปราสาท มีบรรณาลัยหรือวิหารศิลาแลงสองหลัง อาคารทั้งหมดล้อมรอบด้วยระเบียงคด มีประตูทางเข้าและซุ้มประตู (โคปุระ) ทั้งสี่ด้าน  ลักษณะของปราสาท และอาคารต่าง ๆ มีดังนี้
                         ปราสาทประธาน  เป็นปราสาทหลังใหญ่ที่สุด ตั้งอยู่ตรงกลาง ผนังอาคารและซุ้มประตูสลักลวดลายงดงาม ฐานปราสาทสลักเป็นเทวรูปยืน มุขหน้ายื่นต่อกับซุ้มทางด้านทิศใต้ หลังคาเป็นหินทราย แบ่งออกเป็นสามคูหา คูหาแรกเชื่อมต่อกับ ซุ้มประตูที่ผนังด้านทิศตะวันออก และตะวันตก มีหน้าต่างติดลูกมะหวด (ลูกกรง) หินทรายด้านละหนึ่งช่อง  คูหาส่วนที่อยู่ตรงกลางด้านทิศตะวันออก และทิศตะวันตกทำเป็นซุ้มประตูด้านละหนึ่งประตู ริมซุ้มประตูมีหน้าต่าง ติดลูกมะหวดด้านละสองช่อง คูหาส่วนที่สามลักษณะเหมือนคูหาแรก
                         ที่ประสาทประธานด้านทิศเหนือและทิศตะวันตก พบทับหลังหินทรายสลักเป็นรูปเทวดานั่งชันเข่าอยู่บนแท่นภายในซุ้มเหนือหน้ากาล
                         ปราสาทบริวารหินทรายสองหลัง  มีประตูเข้าด้านทิศใต้ ส่วนด้านหน้าเป็นวิหารหรือบรรณาลัยศิลาแลง มีประตูทางเข้าทางด้านทิศใต้สองหลัง หลังหนึ่งตั้งด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ อีกหลังหนึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปรางค์ประธาน
                         กลุ่มโบราณสถานดังกล่าว ล้อมรอบด้วยระเบียงคดหินทราย ภายในมีช่องทางเดินทะลุถึงกันโดยตลอด มีซุ้มประตู (โคปุระ) ทั้งสี่ด้าน ที่สำคัญคือด้านทิศใต้ ลักษณะซุ้มประตูทำเป็นสามคูหา คูหากลางสร้างเป็นรูปกากบาท มีหน้าต่างติดลูกกรงหินกลึง หรือที่เรียกว่า ลูกมะหวด ข้างละสองช่อง ประตูด้านละหนึ่งช่อง หน้าประตูด้านนอกมีบันได ที่ลานระเบียงคดทางมุขด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พบศิลาจารึกภาษาขอมกล่าวถึงพระกัลปกฤษณะ นอกระเบียงคดออกไปด้านทิศเหนือ มีสระน้ำกรุด้วยศิลาแลงหนึ่งสระ
            จากลักษณะและองค์ประกอบด้านสถาปัตยกรรม ตลอดจนชื่อพระกัลปกฤษณะที่พบในศิลาจารึกที่ระเบียงคด ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ประสาทแห่งนี้คงสร้างราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๗
                ปราสาทตาเมือนโต๊จ  อยู่ที่บ้านหนองคันนา ตำบลตาเมียง กิ่งอำเภอพนมดงรัก อยู่ห่างจากปราสาทตาเมือนไปทางทิศใต้ ประมาณ ๑๐๐ เมตร ประกอบด้วยปราสาทประธานก่อด้วยศิลาแลง ส่วนยอดเป็นหินทรายจำหลักเป็นรูปดอกบัว และทางด้านทิศตะวันออกมีมุข มีประตูเข้าอีกสามด้านเป็นประตูหลอก  ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธานเป็นวิหารก่อด้วยศิลาแลง มีประตูทางเข้าด้านทิศตะวันตก กรอบและเสาประตูทำด้วยหินทราย มีกำแพงก่อด้วยศิลาแลงล้อมรอบ
                ถึงกลางกำแพงด้านทิศตะวันออก มีซุ้มประตูทางเข้าก่อด้วยศิลาแลง ภายในซุ้มประตูแบ่งเป็นสามคูหา ที่ผนังมีหน้าต่างข้างละช่อง ห้องกลางเป็นคูหาขนาดใหญ่ ตรงกลางคูหาพบศิลาจารึกอักษรขอม เป็นภาษาสันสกฤตหนึ่งหลัก มีข้อความกล่าวนมัสการพระพุทธเจ้า  พระไภยษัชคุรุไวฑูรยะ ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ผู้ประทานความไม่มีโรคแก่ประชาชน ผู้นับถือพระองค์ และกล่าวถึงการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ประจำอโรคยาศาล ฯลฯ  เหมือนกับจารึกที่พบตามอโรคยาศาลที่อื่น  นอกจากกำแพงทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีสระน้ำหนึ่งสระ ขอบสระกรุด้วยศิลาแลง
            จากลักษณะองค์ประกอบของแผนผังปราสาท ประกอบกับจารึกแสดงว่าปราสาทแห่งนี้เป็นอโรคยาศาล ที่สร้างสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่เจ็ด ระหว่างปี พ.ศ.๑๗๒๐ - ๑๗๘๐
                ปราสาทตาเมือน  ตั้งอยู่บนเทือกเขาพนมดงรัก อยู่ห่างจากชายแดนประเทศกัมพูชาประมาณ ๒ กิโลเมตร ที่บ้านหนองคันนา ตำบลตาเมียง กิ่งอำเภอพนมดงรัก เป็นปราสาทหลังเดียว ก่อด้วยศิลาแลง มีมุขยื่นไปทางทิศตะวันออก ฐานปราสาทมีขนาด ๗ x ๗ เมตร มุขกว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๒ เมตร ยอดหักพังเหลือเพียงองค์ปราสาทสูง ประมาณ ๑๓ เมตร มีประตูทางเข้าสองทาง อยู่ทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก
                รูปแบบของปราสาทเป็นลักษณะของธรรมศาลาหรือที่พักคนเดินทาง เป็น ๑ ใน ๑๘ แห่ง ที่สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่เจ็ด จากเมืองยโสธรปุระไปยังเมืองพิมาย เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๗๒๐ - ๑๗๘๐
                ปราสาทหมื่นศรีน้อย อยู่ที่บ้านหมื่นศรีกลาง ตำบลหมื่นศรี อำเภอสำโรงทาบ ประกอบด้วยซากอาคารของวิหารและเจดีย์ธาตุก่อด้วยอิฐฉาบปูน และมีเครื่องไม้ประกอบบางส่วน เดิมตัวอาคารชำรุดหักพังเป็นส่วนใหญ่เหลือเพียงฐาน
                ห่างออกไปจากตัววิหารทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีซากเจดีย์ก่อด้วยอิฐตั้งอยู่ สภาพของเจดีย์หักพังลงเป็นส่วนมาก จนอยู่ในสภาพคล้ายกองดินขนาดใหญ่ ได้มีการขุดแต่ง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๐ ทำให้เห็นรากฐานเดิม ที่ประกอบด้วยส่วนฐาน บันไดทางขึ้น ผนังและประตูทางด้านทิศตะวันตก โดยเฉพาะส่วนยอดหรือหน้าบันของผนังด้านทิศตะวันตก  กรอบประตูก่ออิฐเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้คานไม้สอดแทรกเข้าไปในระหว่างก้อนอิฐ ทำเป็นคานของประตู เหนือคานประตูขึ้นไปก่ออิฐจรดกรอบซุ้มรูปโค้งของประตูที่ยื่นออกมา เหนือกรอบซุ้มโค้งของประตูขึ้นไปเป็นส่วนยอดของปราสาท ซึ่งส่วนใหญ่คงสภาพเดิมให้เห็นอยู่มาก ส่วนยอดของผนังด้านนี้ ก่ออิฐเป็นรูปจำลองรูปทรงของอาคารขนาดเล็กซึ่งคงได้รับอิทธิพลของศิลปะขอม ที่ใจกลางของกรอบประตูมีไม้ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นไม้ที่มีมาแต่เดิม ตรึงเพดานประตูลงมาจนจรดพื้น
                เมื่อพิจารณาจากหลักฐานต่าง ๆ ที่เหลืออยู่ สันนิษฐานว่าปราสาทแห่งนี้คงได้รับการซ่อมแซมและดัดแปลงในสมัยอยุธยาตอนปลาย
                ปราสาทจอมพระ อยู่ที่บ้านศรีดงบัง ตำบลจอมพระ อำเภอจอมพระ เป็นปราสาทที่สร้างด้วยศิลาทราย มีกำแพงศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และมีซุ้มประตูอยู่ด้านหน้าหันไปทางทิศตะวันออก มุมกำแพงด้านในทางทิศตะวันออกเฉียงใต้มีบรรณาลัยที่เหลือเพียงส่วนฐานศิลาแลง
                นอกกำแพงด้านทิศตะวันออกมีสระน้ำที่ยังขุดไม่เสร็จ ต่อไปทางด้านทิศตะวันออกมีสระน้ำอีกหนึ่งสระ
                จากลักษณะทางสถาปัตยกรรมเทียบได้กับลักษณะของปราสาทตาเมือน หรืออโรคยาศาลที่สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่เจ็ด เมื่อปีการขุดแต่ง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๐ พบเศียรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรหนึ่งเศียร และพระวัชรสัตว์หนึ่งองค์ เช่นเดียวกับที่พบที่ปรางค์วัดกู่แก้ว จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นศิลปะในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน อันเจริญรุ่งเรืองในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ จึงสันนิษฐานว่า ปราสาทแห่งนี้คงสร้างประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘
                ปราสาทช่างปี่ อยู่ที่บ้านช่างปี่ ตำบลช่างปี่ อำเภอศีขรภูมิ เป็นปราสาทแบบเขมรที่ยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ เพราะนอกจากไม่พบประติมากรรมภายใน ปราสาทประธานแล้ว หน้าบันและทับหลังที่มีอยู่ก็ยังสลักไม่เสร็จ
                อาจกล่าวได้ว่าปราสาทแห่งนี้เป็นอโรคยาศาลที่สร้างสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่เจ็ด
                ปราสาทช่างปี่มีปราสาทเพียงหลังเดียวอยู่ตรงกลาง ก่อด้วยศิลาแลง มีมุขยื่นออกไปทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นทางเข้าส่วนอีกสามด้านเป็นประตูหลอก ที่มุมทางทิศตะวันออกเฉียงใต้มีบรรณาลัย หรือวิหารขนาดเล็กหันหน้าไปทางทิศตะวันตก อาคารทั้งสองล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง ทำเป็นซุ้มประตูด้านทิศตะวันออก
                ภายนอกกำแพงด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมกรุด้วยหินแลงหนึ่งสระ
                ปราสาทบ้านตะเปรียงเตีย (ระเบียงเตีย)  อยู่ที่บ้านหนองเกาะ ตำบลลำดวน เป็นปราสาทก่ออิฐขนาดเล็ก มีฐานเตี้ย แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสซ้อนกัน ๔ ชั้น ยอดทำเป็นรูปดอกบัวตูม มีช่องประตูหนึ่งช่องด้านทิศตะวันออก ใต้ช่องซุ้มทิศอื่น ๆ ทำเป็นรูปช้างสามเศียร สันนิษฐานว่า มีอายุอยู่ประมาณสมัยอยุธยาตอนปลาย หรือต้นสมัยรัตนโกสินทร์
                ปราสาทตามอย (ตามอญ)  อยู่ที่บ้านปราสาท ตำบลบัวเชด อำเภอศีขรภูมิ เป็นปราสาทก่ออิฐหลังเดียวโดด ๆ  มีประตูเข้าทางทิศตะวันออกด้านเดียว ผนังอีกสามด้านก่อทึบ ส่วนยอดของปราสาทชำรุดหักพัง
                ลักษณะทางสถาปัตยกรรม มีเรือนธาตุสี่เหลี่ยมซ้อนกันสามชั้น เป็นแบบผสมผสานกันระหว่างศิลปะขอมและลาว สันนิษฐานว่า มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๓ ปลายสมัยอยุธยาหรือต้นสมัยรัตนโกสินทร์
                เจดีย์บ้านลำดวน  อยู่ที่บ้านลำดวน ตำบลลำดวน อำเภอลำดวน ปัจจุบันเรียกว่าปราสาทยายแกรม เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๓  องค์เจดีย์ก่อด้วยอิฐสอดิน แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดกว้างด้านละ ๑.๒๐ เมตร สูงประมาณ ๒.๐๐ เมตร
                - ปราสาทเมืองที  อยู่ที่บ้านเมืองที ตำบลเมืองที อำเภอเมือง ฯ  เป็นปราสาทรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่อด้วยอิฐฉาบปูน มีอยู่ห้าหลัง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ปราสาทหลังกลางมีขนาดใหญ่และสูงกว่าหลังอื่น ๆ โดยมีเรือนธาตุสามชั้น และมีบันไดยื่นออกจากเรือนธาตุทั้งสี่ด้าน ปัจจุบันปราสาทบริวารเหลืออยู่เพียงสองหลัง
                เมื่อพิจารณาจากลักษณะทางสถาปัตยกรรม ไม่สามารถกำหนดอายุการก่อสร้างได้ สันนิษฐานว่า ปราสาทแห่งนี้ได้รับการซ่อมแซมใหม่ ประมาณสมัยอยุธยาตอนปลาย หรือต้นสมัยธนบุรี
                ปราสาททอง  อยู่ในวัดปราสาททอง บ้านแสรออ ตำบลตากูก กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ เป็นปราสาทก่ออิฐขนาดเล็ก เลียนแบบการก่อสร้างปราสาทเขมรในยุครุ่งเรือง เป็นปราสาทรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมเพียงหลังเดียวโดด ๆ มีลักษณะคล้ายปราสาทเมืองที  ก่อด้วยอิฐถือปูน มีเรือนธาตุสามชั้น ช่องประตูเป็นประตูหลอกทั้งสี่ด้าน ไม่สามารถเข้าไปประกอบพิธีกรรมภายในได้
ตัวปรางค์ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสใหญ่และสูง ก่อด้วยอิฐ  สันนิษฐานว่า ก่อสร้างเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ร่วมสมัยกับปราสาทเมืองที
                ปราสาทแก้ว  อยู่ที่บ้านพระปืด ตำบลแร่ กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ ในวัดปราสาทแก้ว ซึ่งอยู่ภายในเมืองโบราณรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน ด้านทิศตะวันออกมีกำแพงดินสามชั้น และคูน้ำสองชั้นล้อมรอบ
                ปราสาทแก้วเป็นวิหารเก่าแก่ สร้างด้วยอิฐสอดิน มีศิลาแลงประกอบ ฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนบนเป็นปรางค์หรือมณฑป รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม เรือนธาตุคล้ายปราสาทเมืองที แต่มีผนังเรือนธาตุ ด้านทิศตะวันออกเจาะเป็นซุ้ม เพื่อประดิษฐานพระปืด ซึ่งเป็นพระพุทธรูปหินทรายแดง ปางสมาธิ (เพชร) พระเศียรเดิมหายไป ได้สร้างพระเศียรต่อขึ้นใหม่
                ภายในวิหารมีพระพุทธรูปชื่อพระเสี่ยงทาย ปางสมาธิ (ราบ) พระเศียรทรงเทริด มีรัศมีเป็นรูปกลีบบัวหงาย ทางทิศตะวันออกของปราสาทมีธาตุ ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสก่ออิฐสอดินที่ส่วนล่าง แล้วใช้ก้อนศิลาแลงก่อทับที่ส่วนบน สันนิษฐานว่า มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๔
                นอกจากปราสาทที่กล่าวมาแล้ว ยังมีปราสาทอยู่อีกจำนวนมากที่ชำรุดหักพัง และถูกรื้อถอน ไม่เห็นสภาพเดิมอีก เช่น ปราสาทบ้านเป็ง ปราสาทบ้านจารย์ ปราสาทบ้านเฉนียน ปราสาทบ้านสนม ปรางค์วัดโพธิ์ศรีธาตุ ปรางค์วัดหนองหิน ปราสาทบ้านกระดูด และปราสาทหมอนเจริญ ฯลฯ

โบราณวัตถุ

  • รูปเคารพและส่วนประกอบของปราสาท ได้จากชิ้นส่วนของปราสาทที่ขุดพบทั่วทั้งจังหวัดสุรินทร์ เช่น ทับหลังจำหลักกลีบขนุน ฐานเทวรูป เศียรเทวรูป พระพุทธรูปในสมัยต่าง ๆ เป็นต้น
  • อาวุธ พบน้อยมากในจังหวัดสุรินทร์ จะพบก็เป็นอาวุธที่เกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์เท่านั้น เช่น หอก ดาบ ขอช้าง และง้าว
  • เครื่องประดับ พบว่าอยู่ในสมัยขอมหรือเขมรโบราณที่เรียกว่าศิลปะลพบุรี เช่น กำไล กระพรวนที่ทำด้วยสำริดและห่วงคานหามเป็นต้น
  • เครื่องถ้วยและภาชนะดินเผา พบว่าอยู่ในสมัยขอมหรือเขมรโบราณ พบที่ตำบลสวาย และอำเภอศรีณรงค์ อำเภอสังขะ เช่น ลูกประคำ ไห โถ ชาม กระปุก เป็นต้น
  • สังเค็ด เป็นสังเค็ดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้วัดจำปา เพื่อเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว



ศิลปหัตถกรรมและงานช่างท้องถิ่น


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เครื่องเงิน สุรินทร์



เครื่องเงิน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผ้าไหมสุรินทร์







ผ้าไหม



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประคำสุรินทร์




ประคำ









ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หมอนขิดสุรินทร์


หมอนขิด



การละเล่นพื้นบ้าน นาฎศิลป์และดนตรี


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เรือมอันเรสุรินทร์





ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รำตรุษสุรินทร์






รำตรุษ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เจรียง เบรินสุรินทร์



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กันตรึม เบรินสุรินทร์









ศาสนา ความเชื่อและพิธีกรรม



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รำมะม๊วดสุรินทร์

                                        รำมะม๊วด


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ งานแซนโฎนตาสุรินทร์
            
              




















                                 งานแซนโฎนตา