
ประชากร
ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 จังหวัดสุรินทร์มีประชากรทั้งสิ้น 1,380,399 คน แยกเป็นชาย 690,644 คน หญิง 689,755 คน ความหนาแน่นเฉลี่ย 170 คน/ตร.กม. มีจำนวนประชากรมากเป็นลำดับที่ 10 ของประเทศไทย และมีความหนาแน่นเฉลี่ยเป็นลำดับที่ 18 ของประเทศไทย
ชาวไทยเขมร

ชาวไทยกูย
กูย (แปลว่า คน) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ “ข่า” อีกกลุ่มหนึ่ง มีรูปร่างลักษณะคล้ายชนเผ่าเขมร ส่วนใหญ่ ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ อุบลราชธานี สุรินทร์ บุรีรัมย์บางส่วน กูยไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทราบเพียงว่า แต่เดิมอยู่ในกัมพูชา นิยมพูดภาษาเป็น 2 กลุ่ม คือ กูยลาว อยู่ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษตอนบน ซึ่งพูดภาษากูยโดยมีคำภาษาลาวปนอยู่ด้วยบางคำ และกูยเขมร อยู่ในเขตจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษตอนล่าง และอุบลราชธานีตอนล่าง ซึ่งพูดภาษากูยโดยมีคำภาษาเขมรปนอยู่ด้วย ชาวไทยกูย อาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดที่อำเภอ ศรีขรภูมิ สำโรงทาบ จอมพระ สังขะ บัวเชด ศรีณรงค์ สนม ท่าตูม บางส่วนของอำเภอเมือง เขวาสินรินทร์ และกาบเชิง

ชาวไทยลาว

ชาวไทยจีน
ชาวจีนส่วนใหญ่ที่อพยพเข้ามาก่อตัวเป็นชุมชนขึ้นในจังหวัดสุรินทร์นั้น สาเหตุหลัก ๆ มาจากปัญหาการลี้ภัยสงครามที่เกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนาน นับตั้งแต่ยุคการปฏิวัติประชาธิปไตยสมัย ดร.ซุนยัดเซ็น การปฏิวัติคอมมิวนิสต์นำโดยเหมา เจ๋อ ตง และสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นบุกจีน ที่ต่อเนื่องยาวนานถึง 54 ปี ในระหว่าง พ.ศ. 2438 – 2492 ทำให้ประชาชนเดือดร้อนลำเค็ญ โดยเฉพาะช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวจีนในจังหวัดแต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง ได้อพยพลี้ภัยเข้ามายังเมืองไทยเป็นจำนวนมาก สายหนึ่งมาทางเรือ ขึ้นฝั่งที่เมืองบางกอก อีกสายหนึ่งผ่านเข้ามาทางเวียดนามและลาว ชุมชนชาวจีนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดสุรินทร์อาจแบ่งออกเป็นสองช่วงใหญ่ ๆ ได้แก่ ก่อนการสร้างทางรถไฟผ่านเมืองสุรินทร์ และหลังจากทางรถไฟมาถึงจังหวัดสุรินทร์แล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น