วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ประวัติความเป็นมา จังหวัดสุรินทร์


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ banner web สุรินทร์
จังหวัดสุรินทร์

ประวัติความเป็นมา
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จังหวัดสุรินทร์จังหวัดสุรินทร์ได้รับการสันนิษฐานจากนักประวัติศาสตร์ ว่าพื้นที่อันเป็นที่ตั้งเมืองสุรินทร์มีชุมชนอาศัยอยู่เมื่อประมาณ 2,000 ปีล่วงมาแล้ว ในสมัยที่พวกขอมเรืองอำนาจเมื่อขอมเสื่อมอำนาจลงเมืองสุรินทร์ได้ถูกทิ้งร้างจนกลายเป็นป่าดงอยู่นานจนกระทั่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนปลาย พ.ศ. 2260 ชาวพื้นเมืองกลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่าส่วยหรือกูย ซึ่งอาศัยอยู่แถบเมืองอัตปือแสนแป แคว้นจำปาศักดิ์ซึ่งขณะนั้นเป็น ดินแดนของไทย และเป็น ผู้ที่มีความสามารถในการจับช้างป่ามาเลี้ยงไว้ใช้งานเป็นอย่างมากได้พากันอพยพข้ามลำน้ำโขง มาสู่ฝั่งขวาโดย ได้แยกย้ายกันไปตั้งชุมชนที่เมืองลีง (อำเภอจอมพระ) บ้านโคกลำดวน(อำเภอขุขันธ์จังหวัดศรีสะเกษ) บ้านอัจจะปะนึ่ง(อำเภอสังขะ) และบ้าน กุดปะไท (อำเภอศีขรภูมิ) แต่ละ บ้านจะมี หัวหน้าควบคุมอยู่ ในปี พ.ศ. 2306 หลวงสุรินทรภักดี หรือเชียงปุมหัวหน้าหมู่บ้านเมืองทีได้ขอให้เจ้าเมืองพิมายกราบบังคมทูลขอพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งสุริยามรินทร์ ย้ายหมู่บ้านจากบ้านเมืองทีมาตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านคูประทาย บริเวณซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองสุรินทร์ในปัจจุบันนี้ เนื่องจากเห็นว่าเป็นบริเวณที่มีชัยภูมิเหมาะสม มีกำแพงค่ายคูล้อมรอบ 2ชั้นมีน้ำอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การประกอบอาชีพและอยู่อาศัย ต่อมาหลวงสุรินทร์ภักดีได้กระทำความดีความชอบเป็นที่โปรดปราน พระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกบ้านคูประทาย เป็นเมืองประทายสมันต์ และเลื่อนบรรดาศักดิ์หลวงสุรินทรภักดีเป็นพระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวางให้เป็นเจ้าเมืองปกครอง ในปี พ.ศ. 2329 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองประทายสมันต์เป็นเมืองสุรินทร์ ตามสร้อยบรรดาศักดิ์เจ้าเมือง เมืองสุรินทร์มีเจ้าเมืองปกครองสืบเชื้อสายกันมารวม 11 คน  จนถึงปี พ.ศ. 2451 ได้มีการปรับปรุงระบบบริหารราชการแผ่นดินเป็นแบบเทศาภิบาลส่วนกลาง จึงได้แต่งตั้งพระกรุงศรีบุรีรักษ์ (สุม สุมานนท์) มาดำรงตำแหน่งเป็น ข้าหลวงประจำจังหวัดหรือผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นคนแรก



ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย ระหว่างเส้นแวงที่ 103 องศา และ 105 องศาตะวันออก และระหว่างเส้นรุ้งที่ 15 องศา และ องศาเหนือ ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 450 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
จังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดมหาสารคาม
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ
จังหวัดศรีสะเกษ
ทิศใต้
ติดต่อกับ
ราชอาณาจักรกัมพูชา
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
จังหวัดบุรีรัมย์
ลักษณะภูมิประเทศ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จังหวัดสุรินทร์
จังหวัดสุรินทร์มีเนื้อที่ประมาณ 8,124 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 5,077,535 ไร่คิดเป็นร้อยละ 4.8 ของพื้นที่ภาคตะ วันออกเฉียงเหนือทั้งหมด ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปมีลักษณะดังนี้คือบริเวณซึ่งติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา มีป่าทึบและภูเขาสลับซับซ้อน ถัดจากบริเวณภูเขา จะเป็นที่ราบสูงลุ่มๆ ดอนๆ ลักษณะลูกคลื่นลอนลาดบริเวณตอนกลาง ของจังหวัด จะเป็นที่ราบลุ่มเป็นส่วนใหญ่ มีที่ราบสูงอยู่บางตอน ด้านเหนือของจังหวัดเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำไหลผ่าน
จังหวัดสุรินทร์มีลำน้ำธรรมชาติที่สำคัญ 8 สายดังนี้คือ แม่นำมูล ลำน้ำชี ห้วยเสนง ลำห้วยพลับพลา ลำห้วยระวี ลำห้วยทับทัน ลำห้วยระหารและลำห้วยแก้ว เป็นลำน้ำที่ทำประโยชน์ให้แก่จังหวัดสุรินทร์ นอกจาก 8 แห่งนี้แล้ว ยังมีลำน้ำและหนองนำอีกมากมายกระจัดกระจายอยู่ในอำเภอต่างๆแต่แหล่งน้ำต่างๆดังกล่าวไม่สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่เกษตรกรได้มากนัก ในฤดูแล้งส่วนใหญ่น้ำจะแห้ง เว้นแต่ลำน้ำมูลซึ่งมีน้ำไหลตลอดปี
จังหวัดสุรินทร์ มีพื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นเขตป่าจำนวน 1,382,625 ไร่หรือคิดเป็นร้อยละ 27.23 ของพื้นที่จังหวัดไม่มีอุทยานแห่งชาติมีวนอุทยานจำนวน 2 แห่ง คือวนอุทยานพนมสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ เนื้อที่ 2,500 ไร่ และวนอุทยานป่าสนหนองคู อำเภอสังขะ เนื้อที่ 625 ไร่และมีเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า 1 แห่งคือเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยสำราญ - ห้วยทับทัน อยู่ในพื้นที่กิ่งอำเภอพนมดงรัก, อำเภอกาบเชิง, อำเภอสังขะ และอำเภอบัวเชด เนื้อที่ 313,750 ไร่
สภาพสังคม
โครงสร้างทางสังคม
จังหวัดสุรินทร์ มีประชากรร้อยละ 93 อาศัยอยู่ในเขตชนบท มีภาษาพูดพื้นเมืองที่แตกต่างกัน เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่พูดภาษาเขมร ส่วนใหญ่อาศัยอยู่แถบอำเภอเมือง ปราสาท กาบเชิง สังขะ บัวเชด จอมพระ ศีขรภูมิ ท่าตูม ชุมพลบุรี ลำดวน กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มที่พูดภาษาส่วย อาศัยอยู่ในแถบอำเภอสำโรงทาบ ท่าตูม สนม จอมพระ ศีขรภูมิ รัตนบุรี และกระจายอยู่ตามอำเภออื่นๆ อีกเล็กน้อย กลุ่มที่สามเป็นกลุ่มที่พูดภาษาพื้นเมืองอีสาน(ลาว) อาศัยอยู่แถบอำเภอสนม รัตนบุรี ท่าตูม ชุมพลบุรี และศีขรภูมิ
เนื่องจากประชาชนมีภาษาพูดที่แตกต่างกัน จึงทำให้แต่ละกลุ่มมีขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมที่แตกต่างกันบ้าง แต่อย่างไรก็ตาม ประชากรทั้ง 3 กลุ่ม มีความเป็นมาที่กลมกลืนกัน มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย มีความสามัคคีต่อกันเป็นอย่างดี ไม่ปรากฏการเกิดปัญหาระหว่างกลุ่มชนแต่อย่างใด
การปกครองส่วนภูมิภาค
จังหวัดสุรินทร์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 17  อำเภอ 158 ตำบล  2,119 หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่น
 จังหวัดสุรินทร์มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 173 แห่ง ดังนี้
 1. องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์
2. เทศบาลเมืองสุรินทร์ ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง เนื้อที่ 11.3 ตารางกิโลเมตร
3. เทศบาลตำบล จำนวน 27 แห่ง
4. องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 144 แห่ง
ตารางแสดงพื้นที่  หน่วยการปกครอง  ระยะทางจากจังหวัด 

อำเภอ/กิ่งอำเภอ
พื้นที่(ตร.กม.)
ตำบล
หมู่บ้าน
เทศบาล
เทศบาล ตำบล
อบต.
ระยะทาง
1
เทศบาลเมือง
11.3
1
-
1
-
-
-
2
เมืองสุรินทร์
903.845
20
281
-
1
20
-
3
ปราสาท
908.836
18
239
-
3
17
28
4
สังขะ
1,009.000
12
183
-
1
12
47
5
ศีขรภูมิ
561.613
15
226
-
2
14
34
6
รัตนบุรี
202.830
12
162
-
1
12
70
7
ท่าตูม
643.256
10
165
-
2
9
52
8
สำโรงทาบ
375.250
10
100
-
2
9
54
9
ชุมพลบุรี
520.256
9
122
-
5
5
91
10
จอมพระ
314.000
9
105
-
3
7
26
11
สนม
203.000
7
78
-
2
6
51
12
กาบเชิง
574.000
6
82
-
2
4
58
13
บัวเชด
479.000
6
67
-
1
6
70
14
ลำดวน
301.000
5
51
-
1
5
26
15
ศรีณรงค์
410.000
5
61
-
-
5
64
16
พนมดงรัก
318.000
4
55
-
-
4
78
17
เขวาสินรินทร์
201.000
5
54
-
1
4
14
18
โนนนารายณ์
199.170
5
67
-
-
5
72
รวม
8,124.056
159
2,098
1
27
144

สภาพทางเศรษฐกิจ
 โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดสุรินทร์ขึ้นอยู่กับด้านการขายส่ง ขายปลีก ด้านการเกษตรและด้านการศึกษาเป็นสำคัญตามลำดับ โดยมีสัดส่วนตามโครงสร้าง GPP ณ ระดับราคาคงที่ในปี พ.ศ.2551 (P1) ร้อยละ 25.06 , 22.05 และ 9.66 ตามลำดับ
ในเดือนเมษายน 2553 เศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดสุรินทร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องพิจารณาจาก ด้านอุปสงค์ การบริโภคขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากจำนวนจดทะเบียนรถยนต์นั่งปริมาณ การใช้ไฟฟ้าของครัวเรือน และจำนวนจดทะเบียนรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนมีกำลังซื้อรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น มูลค่าการส่งออกและนำเข้าเกินดุล การใช้จ่ายภาครัฐด้านรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้น แต่รายจ่ายงบลงทุนลดลง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จังหวัดสุรินทร์ด้านการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นพิจารณาได้จากทุนจดทะเบียนนิติบุคคลตั้งใหม่ จำนวนรถยนต์พาณิชย์จดทะเบียนใหม่ และพื้นที่อนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ด้านอุปทาน รายได้ภาคนอกการเกษตรขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยพิจารณาจากการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดสุรินทร์ จำนวนทุนจดทะเบียนของอุตสาหกรรมและจำนวนแรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว
ด้านการเงิน เงินฝากของธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว สำหรับสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสินเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรลดลงจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ด้านระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ด้านการจ้างงาน จำนวนลูกจ้างในระบบประกันสังคมเพิ่มขึ้นและมีตำแหน่งงานว่างรอการบรรจุเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว



1 ความคิดเห็น: